“เพลงไทยลูกกรุง และเพลงลูกทุ่ง” หมายถึง เพลงที่มีความหมายคล้ายกับเพลงไทยสากล แต่มาแตกต่าง แยกรายละเอียด ลงลึกในเนื้อร้อง เรื่องราว และการขับร้อง การถ่ายทอดบทเพลงตลอดถึงบุคลิกของนักร้องจะมี หรือหาเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งน้ำเสียง เพื่อจะทำให้รูปแบบในการนำเสนอเข้าถึงผู้ฟังได้ความรู้สึกการตอบสนองแตกต่างกันออกไปตามที่ศิลปินอยากจะให้เป็นตามแนวเพลง
แรกๆ จากอดีต ตั้งแต่การดนตรีเริ่มพัฒนานำเอาเครื่องดนตรีต่างประเทศเข้ามาผสมผสานกับการดนตรีไทย เริ่มใหม่ๆ แนวเพลงยังไม่มีความชัดเจนแยกประเภทของเพลงแทบจะไม่ออกว่าเป็นเพลงลูกทุ่ง ลูกกุรง เพลงมาร์ชเพลงปลุกระดม หรือเพลงแนวใด นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง เล่นดนตรีเพลิดเพลินไปกับอุปกรณ์แนวใหม่ ตอบสนองความฝัน และจินตนาการไปตามเหตุการณ์ของตัวเอง และสังคมเมือง ต่อๆ มาเมื่อแนวเพลง และบทเพลงมีมากมายหลากหลาย ทั้งเพลงประกอบการแสดงละคร เพลงประกอบภาพยนตร์ และเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อชีวิตประจำวันตามประเพณีนิยม และกลับกลายมาเป็นเพื่ออาชีพ ฉะนั้นแนวเพลงจึงเริ่มแยกออกมาชัดเจน ทั้งตามกลุ่มผู้ฟัง และผู้ทำเพลง
เพลงลูกกรุง มีความหมายว่าอย่างไร
เป็นคำตอบที่ค่อนข้างจะลำบาก แต่ถ้าหากจะตอบแบบไม่เป็นจริงเป็นจัง ก็ตอบได้ง่ายๆ สบายๆ ง่ายนิดเดียวว่า “เพลงลูกกรุง คือเพลงที่ร้องโดยวงสุนทราภรณ์ คุณสุเทพ คุณชรินทร์ คุณธานินทร์ ฯลฯ จบ ... เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่ร้องโดยคุณสุรพล สมบัติเจริญ คุณเพลิน พรมแดน คุณไวพจน์ เพชรสุพรรณ คุณศรคีรี ศรีประจวบ ฯลฯ จบ ...”
แต่ความหมายในเชิงวิเคราะห์กึ่งวิชาการ และทางด้านการบันทึกเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง ความหมายของเพลงลูกกรุงนั้น ค่อนข้างยาก และลำดับได้ลำบาก เพราะต่างให้ความหมาย และคำตอบที่แตกต่างกันออกไปในรูปแบบต่างๆ ไม่มีบทนิยามที่ชัดเจน อาจจะเป็นเพราะว่าศิลปะแขนงนี้เป็นศิลปะที่ยังไม่มีหลักการ และทฤษฎีมารองรับ แหล่งข้อมูลบางแหล่งบอกมีเพลงลูกกรุงกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2474 ระหว่างช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองฯ ในรัชกาลที่ 7 บางแหล่งบอกปลาย รัชกาลที่ 6 ประมาณ พ.ศ. 2455 โดยการจ้างครูจากอิตาลีนำเครื่องสายสากลเข้ามาสอน แต่ความชัดเจนเพลงลูกกรุงเริ่มเด่นขึ้นมา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2475 โดยเริ่มมีแนวเพลง เนื้อร้อง ทำนอง และเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงประกอบเป็นไทย ทำนองไทยที่นำเอาบทเพลงของ รัชกาลที่ 6 ที่นำมาเรียบเรียงเสียงประสานใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ เป็นเพลงในกิจการลูกเสือ และต่อมามีเพลงของขุนวิจิตรมาตรา "ลาทีกล้วยไม้" เป็นเพลงในจังหวะรุมบ้าเพลงแรกของไทย บทเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ และอื่นๆ ซึ่งแต่ง และใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ นั่นคือหลักฐานการกำเนิดเพลงลูกกรุง แต่ความหมายของเพลงลูกกรุงกลับไม่ได้อธิบายเป็นบทนิยามไว้ชัดเจนว่ามีความหมายอย่างไร สำหรับความหมายเพลงลูกกรุงของ 500 บันทึกเมือง จะขออธิบายตามความเข้าใจ และแยกประเภทตามรูปแบบไว้เป็นดังนี้
เพลงลูกกรุง หมายถึง “บทเพลงที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ สังคม และคนเมืองหลวง รวมถึงเรื่องราว ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายทอดอารมณ์ การขับร้อง น้ำเสียง ของกลุ่มนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรีจะมีรูปแบบ ประณีต ละเอียดอ่อน ออกมานุ่มนวล ความรู้สึกของผู้ฟัง ฟังแล้วเกิดจินตนาการตาม เนื้อร้องของบทประพันธ์ออกมาเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง มีความหมายสลับซับซ้อน ยอกย้อน ผู้ประพันธ์ นักร้อง นักดนตรี และผู้ฟังอาจเข้าถึงบทเพลงไปตามจินตนาการแตกต่างกันไป”
คำว่า “เพลงลูกกรุง” ได้แยกกลุ่มผู้ฟังอย่างเด่นชัดขึ้นมาตามลำดับ โดยนำเอาความเป็นอยู่ (Lifestyle) ของผู้ฟัง ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี เป็นผู้กำหนดทิศทาง วงสุนทราภรณ์เป็นวงแรก ก่อตั้งเป็นวงดนตรีวงใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2482 ซึ่งทำให้สังคมเมืองในยุคนั้น เริ่มตื่นตัวการฟังเพลง ผู้ฟังและค่ายเพลงต่างๆ เริ่มจัดประเภทเพลง สร้างนักร้องให้มีรูปแบบความเป็นคนเมืองหลวง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักร้องต่างมีรูปแบบ หาแฟชั่นนำสังคม ทั้งเรื่องการแต่งตัวการออกกินข้าวนอกบ้าน มีคลับมีบาร์ แถวถนนราชดำเนิน ตามย่านชุมชน โรงแรมใหญ่ๆ มีห้องบอลรูม เพื่อให้มีการจัดแสดงดนตรีประกอบ กลุ่มคนฟังจึงเริ่มรับแนวเพลงลูกกรุง เกิดการเปรียบเทียบระหว่างแนวเพลงลูกทุ่ง กับเพลงลูกกรุงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นักร้องลูกกรุงที่ถือว่าเป็นรุ่นแรกที่กำหนดแนวเพลงลูกกรุงไว้ชัดเจนมีดังต่อไปนี้
เอื้อ สุนทรสนาน สุเทพ วงศ์กำแหง ชรินทร์ นันทนาคร
ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ สมยศ ทัศนพันธุ์ นริศ อารีย์
นพดฬ ชาวไร่เงิน วินัย จุลละบุษปะ ชาญ เย็นแข
กำธร สุวรรณปิยะศิริ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี มัณฑนา โมรากุล
อ้อย อัจฉรา จินตนา สุขสถิตย์ บุษยา รังสี
รวงทอง ทองลั่นธม สวลี ผกาพันธุ์ สมศรี ม่วงศรเขียว
แรกๆ จากอดีต ตั้งแต่การดนตรีเริ่มพัฒนานำเอาเครื่องดนตรีต่างประเทศเข้ามาผสมผสานกับการดนตรีไทย เริ่มใหม่ๆ แนวเพลงยังไม่มีความชัดเจนแยกประเภทของเพลงแทบจะไม่ออกว่าเป็นเพลงลูกทุ่ง ลูกกุรง เพลงมาร์ชเพลงปลุกระดม หรือเพลงแนวใด นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง เล่นดนตรีเพลิดเพลินไปกับอุปกรณ์แนวใหม่ ตอบสนองความฝัน และจินตนาการไปตามเหตุการณ์ของตัวเอง และสังคมเมือง ต่อๆ มาเมื่อแนวเพลง และบทเพลงมีมากมายหลากหลาย ทั้งเพลงประกอบการแสดงละคร เพลงประกอบภาพยนตร์ และเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อชีวิตประจำวันตามประเพณีนิยม และกลับกลายมาเป็นเพื่ออาชีพ ฉะนั้นแนวเพลงจึงเริ่มแยกออกมาชัดเจน ทั้งตามกลุ่มผู้ฟัง และผู้ทำเพลง
เพลงลูกกรุง มีความหมายว่าอย่างไร
เป็นคำตอบที่ค่อนข้างจะลำบาก แต่ถ้าหากจะตอบแบบไม่เป็นจริงเป็นจัง ก็ตอบได้ง่ายๆ สบายๆ ง่ายนิดเดียวว่า “เพลงลูกกรุง คือเพลงที่ร้องโดยวงสุนทราภรณ์ คุณสุเทพ คุณชรินทร์ คุณธานินทร์ ฯลฯ จบ ... เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่ร้องโดยคุณสุรพล สมบัติเจริญ คุณเพลิน พรมแดน คุณไวพจน์ เพชรสุพรรณ คุณศรคีรี ศรีประจวบ ฯลฯ จบ ...”
แต่ความหมายในเชิงวิเคราะห์กึ่งวิชาการ และทางด้านการบันทึกเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง ความหมายของเพลงลูกกรุงนั้น ค่อนข้างยาก และลำดับได้ลำบาก เพราะต่างให้ความหมาย และคำตอบที่แตกต่างกันออกไปในรูปแบบต่างๆ ไม่มีบทนิยามที่ชัดเจน อาจจะเป็นเพราะว่าศิลปะแขนงนี้เป็นศิลปะที่ยังไม่มีหลักการ และทฤษฎีมารองรับ แหล่งข้อมูลบางแหล่งบอกมีเพลงลูกกรุงกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2474 ระหว่างช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองฯ ในรัชกาลที่ 7 บางแหล่งบอกปลาย รัชกาลที่ 6 ประมาณ พ.ศ. 2455 โดยการจ้างครูจากอิตาลีนำเครื่องสายสากลเข้ามาสอน แต่ความชัดเจนเพลงลูกกรุงเริ่มเด่นขึ้นมา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2475 โดยเริ่มมีแนวเพลง เนื้อร้อง ทำนอง และเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงประกอบเป็นไทย ทำนองไทยที่นำเอาบทเพลงของ รัชกาลที่ 6 ที่นำมาเรียบเรียงเสียงประสานใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ เป็นเพลงในกิจการลูกเสือ และต่อมามีเพลงของขุนวิจิตรมาตรา "ลาทีกล้วยไม้" เป็นเพลงในจังหวะรุมบ้าเพลงแรกของไทย บทเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ และอื่นๆ ซึ่งแต่ง และใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ นั่นคือหลักฐานการกำเนิดเพลงลูกกรุง แต่ความหมายของเพลงลูกกรุงกลับไม่ได้อธิบายเป็นบทนิยามไว้ชัดเจนว่ามีความหมายอย่างไร สำหรับความหมายเพลงลูกกรุงของ 500 บันทึกเมือง จะขออธิบายตามความเข้าใจ และแยกประเภทตามรูปแบบไว้เป็นดังนี้
เพลงลูกกรุง หมายถึง “บทเพลงที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ สังคม และคนเมืองหลวง รวมถึงเรื่องราว ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายทอดอารมณ์ การขับร้อง น้ำเสียง ของกลุ่มนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรีจะมีรูปแบบ ประณีต ละเอียดอ่อน ออกมานุ่มนวล ความรู้สึกของผู้ฟัง ฟังแล้วเกิดจินตนาการตาม เนื้อร้องของบทประพันธ์ออกมาเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง มีความหมายสลับซับซ้อน ยอกย้อน ผู้ประพันธ์ นักร้อง นักดนตรี และผู้ฟังอาจเข้าถึงบทเพลงไปตามจินตนาการแตกต่างกันไป”
คำว่า “เพลงลูกกรุง” ได้แยกกลุ่มผู้ฟังอย่างเด่นชัดขึ้นมาตามลำดับ โดยนำเอาความเป็นอยู่ (Lifestyle) ของผู้ฟัง ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี เป็นผู้กำหนดทิศทาง วงสุนทราภรณ์เป็นวงแรก ก่อตั้งเป็นวงดนตรีวงใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2482 ซึ่งทำให้สังคมเมืองในยุคนั้น เริ่มตื่นตัวการฟังเพลง ผู้ฟังและค่ายเพลงต่างๆ เริ่มจัดประเภทเพลง สร้างนักร้องให้มีรูปแบบความเป็นคนเมืองหลวง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักร้องต่างมีรูปแบบ หาแฟชั่นนำสังคม ทั้งเรื่องการแต่งตัวการออกกินข้าวนอกบ้าน มีคลับมีบาร์ แถวถนนราชดำเนิน ตามย่านชุมชน โรงแรมใหญ่ๆ มีห้องบอลรูม เพื่อให้มีการจัดแสดงดนตรีประกอบ กลุ่มคนฟังจึงเริ่มรับแนวเพลงลูกกรุง เกิดการเปรียบเทียบระหว่างแนวเพลงลูกทุ่ง กับเพลงลูกกรุงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นักร้องลูกกรุงที่ถือว่าเป็นรุ่นแรกที่กำหนดแนวเพลงลูกกรุงไว้ชัดเจนมีดังต่อไปนี้
เอื้อ สุนทรสนาน สุเทพ วงศ์กำแหง ชรินทร์ นันทนาคร
ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ สมยศ ทัศนพันธุ์ นริศ อารีย์
นพดฬ ชาวไร่เงิน วินัย จุลละบุษปะ ชาญ เย็นแข
กำธร สุวรรณปิยะศิริ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี มัณฑนา โมรากุล
อ้อย อัจฉรา จินตนา สุขสถิตย์ บุษยา รังสี
รวงทอง ทองลั่นธม สวลี ผกาพันธุ์ สมศรี ม่วงศรเขียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น