วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

ตารางงาน วงดนตรีโบว์แดง มิวสิค

9 พฤษภาคม 2552 ณ หอประชุมโรงเรียนบุญวัฒนา (นครราชสีมา)

ตารางแด๊นซ์

1 พฤษภาคม 2552 ณ อ.ปักธงชัย

9 พฤษภาคม 2552 ณ หอประชุมโรงเรียนบุญวัฒนา (นคคราชสีมา)

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2551

ประวัตืเพลงเพื่อชีวิต


เพลงเพื่อชีวิต คือประวัติศาสตร์ ในทุกช่วงของเวลาที่ต่างกัน ความหมายของบท เพลงเพื่อชีวิต ก็แตกต่างกัน แต่ยังคงไว้ด้วยแกนแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งเนื้อหาที่สุดขั้ว เรียบง่าย ฟังสบาย ให้กำลังใจ เดิมที่เพลง เพลงเพื่อชีวิต ถูกเรียกว่า " เพลงชีวิต " จากนั้นถูกบัญญัติชื่อใหม่ว่า " เพลงเพื่อชีวิต " ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2480 จุดเริ่มต้นของแนวเพลงชีวิตยุคบุกเบิกได้ถือกำเนิดขึ้น รวมทั้งเพลงเสียดสียั่วล้อสังคม นับได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ศิลปินมีบทบาทสะท้อนความทุกข์ยากของผู้คน รวมถึงการโกงกินของผู้แทนและนักการเมือง ออกมาในบทเพลงของพวกเขา โดยมีสภาพที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในช่วงระหว่างสงครามและหลังสงครามผู้บุกเบิกแนวเพลงเพื่อชีวิตเป็นคนแรกนี้ นั่นก็คือ อาจารย์ แสงนภา บุญราศรี เป็นผู้ร้องเพลงที่สะท้อนภาพปัญหาของชีวิต และปัญหาของสังคมอยู่ในยุคแรกๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความทุกข์ยากของคนปาดตาลในเพลงที่มีชื่อว่า “คนปาดตาล” ในอดีต คนปาดตาลเป็นอาชีพหนึ่งที่ทุกข์ยาก มีหน้าที่ปีนต้นตาลขึ้นไปปาดเอาน้ำตาลลงมาแล้วมาทำน้ำตาล และอีกหลายๆบทเพลง ที่ไม่สามารถฟังได้ด้วยเทคโนโลยีการบันทึกเสียงใดๆ หรือจะกล่าวอีกนัยนึงได้ว่าเราจะฟังเพลงของอาจารย์แสงนภาได้จากผู้อาวุโสอายุ 60 ปีขึ้นไป บางท่านที่ยังพอจดจำเพลงชีวิตของนักเพลงผู้นี้เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมากสำหรับบทเพลงที่มีความหมายและทรงคุณค่าอย่างนี้ ที่ปราศจากการเหลียวแลของคนยุคนั้นในช่วงทศวรรษ 2490 ความตื่นตัวของวงการเพลงที่มีสถานีวิทยุและธุรกิจแผ่นเสียงเป็นแรงกระตุ้นสำคัญ ที่ทำให้รูปแบบและเนื้อ หาเพลงเพื่อชีวิต พัฒนาไปในทิศทางที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น มวลชนมีการรับรู้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงทศวรรษ 2500 เป็นช่วงที่เพลงชีวิตซบเซาถึงขีดสุด แต่ได้เกิดเพลงชีวิตอีกแนวหนึ่งโดยนักเขียนนาม “จิตร ภูมิศักดิ์” ขึ้นภายในกำแพงคุก ในช่วงที่ถูกจองจำเป็นนักโทษการเมือง และพัฒนาเป็นต้นแบบของ “เพลงเพื่อชีวิต” ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 โดยนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยท่ามกลางความมืดมิดในยุคเผด็จการครองเมืองก่อน 14 ตุลา 2516 ณ ห้วงเวลานั้น จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทความที่เสนอแนวคิดเรื่อง “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” ขึ้นมา และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแนวเพลงใหม่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา นั่นก็คือ “เพลงเพื่อชีวิต” กล่าวได้ว่าเพลงเพื่อชีวิตคือ เพชรเม็ดงามทางด้านวัฒนธรรม อันเกิดจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

“สุรชัย จันทิมาธร” หรือที่รู้จักกันในนาม “หงา คาราวาน” ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตผู้ยิ่งใหญ่ ก็ถือกำเนิดบทบาทของการเป็นศิลปินเพื่อชีวิตขึ้นมาในเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ร่วมในการประท้วง และคอยแต่งบทกลอนต่างๆส่งให้โฆษกบนเวทีอ่านให้ประชา ชนฟัง เพื่อปลุกเร้าขวัญกำลังใจและรวบรวมความคิดให้เป็นหนึ่งเดียวกันในสมัยนั้น วงดนตรีเพื่อชีวิตวงแรกที่สร้างความประทับใจให้แก่คนรุ่นนั้นเป็นอย่างมาก ก็คือวงดนตรี “คาราวาน” ถือได้ว่าเป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอดีต วงดนตรีคาราวานเป็นจุดเริ่มต้นการขยายตัวของดนตรีเพื่อชีวิต ได้มีการสร้างสรรค์ผลงานเพลงมากมาย โดยการเข้าร่วมกับขบวนการนักศึกษา ความโด่งดัง และความสามารถในเชิงดนตรีของพวกเขาส่งผลให้บทเพลงเพื่อชีวิตสามารถเปิดการแสดงร่วมกับวงดนตรีในเชิงธุรกิจได้ ผลงานชุดแรกของวงคาราวานมีชื่อว่า “คนกับควาย” ซึ่งปัจจุบันนี้หาฟังต้นฉบับจริงๆที่บันทึกเสียงไว้ในยุคนั้นได้ยากมาก มีเนื้อหาสาระสะท้อนความทุกข์ยากของชาวนา และชุดที่สองในชื่อ “อเมริกันอันตราย”เป็นบทเพลงที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา วงดนตรีที่เล่นเพลงเพื่อชีวิต ในเมืองไทย ที่มีอยู่ตั้งเเต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มี ฅาราวาน, คาราบาว, อี๊ด ฟุตบาท, คนด่านเกวียน,ซูซู,เเฮมเมอร์,พงษ์สิทธิ์ คำภีร์,พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ,อินโดจีน,มาลีฮวนน่า เป็นต้น ซึ่งบางวงที่กล่าวมาก็เลิกเล่น หรือเล่นแบบงานเฉพาะกิจเท่านั้น

ประวัติเพลงลูกกรุง


“เพลงไทยลูกกรุง และเพลงลูกทุ่ง” หมายถึง เพลงที่มีความหมายคล้ายกับเพลงไทยสากล แต่มาแตกต่าง แยกรายละเอียด ลงลึกในเนื้อร้อง เรื่องราว และการขับร้อง การถ่ายทอดบทเพลงตลอดถึงบุคลิกของนักร้องจะมี หรือหาเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งน้ำเสียง เพื่อจะทำให้รูปแบบในการนำเสนอเข้าถึงผู้ฟังได้ความรู้สึกการตอบสนองแตกต่างกันออกไปตามที่ศิลปินอยากจะให้เป็นตามแนวเพลง
แรกๆ จากอดีต ตั้งแต่การดนตรีเริ่มพัฒนานำเอาเครื่องดนตรีต่างประเทศเข้ามาผสมผสานกับการดนตรีไทย เริ่มใหม่ๆ แนวเพลงยังไม่มีความชัดเจนแยกประเภทของเพลงแทบจะไม่ออกว่าเป็นเพลงลูกทุ่ง ลูกกุรง เพลงมาร์ชเพลงปลุกระดม หรือเพลงแนวใด นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง เล่นดนตรีเพลิดเพลินไปกับอุปกรณ์แนวใหม่ ตอบสนองความฝัน และจินตนาการไปตามเหตุการณ์ของตัวเอง และสังคมเมือง ต่อๆ มาเมื่อแนวเพลง และบทเพลงมีมากมายหลากหลาย ทั้งเพลงประกอบการแสดงละคร เพลงประกอบภาพยนตร์ และเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อชีวิตประจำวันตามประเพณีนิยม และกลับกลายมาเป็นเพื่ออาชีพ ฉะนั้นแนวเพลงจึงเริ่มแยกออกมาชัดเจน ทั้งตามกลุ่มผู้ฟัง และผู้ทำเพลง
เพลงลูกกรุง มีความหมายว่าอย่างไร
เป็นคำตอบที่ค่อนข้างจะลำบาก แต่ถ้าหากจะตอบแบบไม่เป็นจริงเป็นจัง ก็ตอบได้ง่ายๆ สบายๆ ง่ายนิดเดียวว่า “เพลงลูกกรุง คือเพลงที่ร้องโดยวงสุนทราภรณ์ คุณสุเทพ คุณชรินทร์ คุณธานินทร์ ฯลฯ จบ ... เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่ร้องโดยคุณสุรพล สมบัติเจริญ คุณเพลิน พรมแดน คุณไวพจน์ เพชรสุพรรณ คุณศรคีรี ศรีประจวบ ฯลฯ จบ ...”
แต่ความหมายในเชิงวิเคราะห์กึ่งวิชาการ และทางด้านการบันทึกเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง ความหมายของเพลงลูกกรุงนั้น ค่อนข้างยาก และลำดับได้ลำบาก เพราะต่างให้ความหมาย และคำตอบที่แตกต่างกันออกไปในรูปแบบต่างๆ ไม่มีบทนิยามที่ชัดเจน อาจจะเป็นเพราะว่าศิลปะแขนงนี้เป็นศิลปะที่ยังไม่มีหลักการ และทฤษฎีมารองรับ แหล่งข้อมูลบางแหล่งบอกมีเพลงลูกกรุงกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2474 ระหว่างช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองฯ ในรัชกาลที่ 7 บางแหล่งบอกปลาย รัชกาลที่ 6 ประมาณ พ.ศ. 2455 โดยการจ้างครูจากอิตาลีนำเครื่องสายสากลเข้ามาสอน แต่ความชัดเจนเพลงลูกกรุงเริ่มเด่นขึ้นมา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2475 โดยเริ่มมีแนวเพลง เนื้อร้อง ทำนอง และเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงประกอบเป็นไทย ทำนองไทยที่นำเอาบทเพลงของ รัชกาลที่ 6 ที่นำมาเรียบเรียงเสียงประสานใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ เป็นเพลงในกิจการลูกเสือ และต่อมามีเพลงของขุนวิจิตรมาตรา "ลาทีกล้วยไม้" เป็นเพลงในจังหวะรุมบ้าเพลงแรกของไทย บทเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ และอื่นๆ ซึ่งแต่ง และใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ นั่นคือหลักฐานการกำเนิดเพลงลูกกรุง แต่ความหมายของเพลงลูกกรุงกลับไม่ได้อธิบายเป็นบทนิยามไว้ชัดเจนว่ามีความหมายอย่างไร สำหรับความหมายเพลงลูกกรุงของ 500 บันทึกเมือง จะขออธิบายตามความเข้าใจ และแยกประเภทตามรูปแบบไว้เป็นดังนี้
เพลงลูกกรุง หมายถึง “บทเพลงที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ สังคม และคนเมืองหลวง รวมถึงเรื่องราว ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายทอดอารมณ์ การขับร้อง น้ำเสียง ของกลุ่มนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรีจะมีรูปแบบ ประณีต ละเอียดอ่อน ออกมานุ่มนวล ความรู้สึกของผู้ฟัง ฟังแล้วเกิดจินตนาการตาม เนื้อร้องของบทประพันธ์ออกมาเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง มีความหมายสลับซับซ้อน ยอกย้อน ผู้ประพันธ์ นักร้อง นักดนตรี และผู้ฟังอาจเข้าถึงบทเพลงไปตามจินตนาการแตกต่างกันไป”
คำว่า “เพลงลูกกรุง” ได้แยกกลุ่มผู้ฟังอย่างเด่นชัดขึ้นมาตามลำดับ โดยนำเอาความเป็นอยู่ (Lifestyle) ของผู้ฟัง ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี เป็นผู้กำหนดทิศทาง วงสุนทราภรณ์เป็นวงแรก ก่อตั้งเป็นวงดนตรีวงใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2482 ซึ่งทำให้สังคมเมืองในยุคนั้น เริ่มตื่นตัวการฟังเพลง ผู้ฟังและค่ายเพลงต่างๆ เริ่มจัดประเภทเพลง สร้างนักร้องให้มีรูปแบบความเป็นคนเมืองหลวง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักร้องต่างมีรูปแบบ หาแฟชั่นนำสังคม ทั้งเรื่องการแต่งตัวการออกกินข้าวนอกบ้าน มีคลับมีบาร์ แถวถนนราชดำเนิน ตามย่านชุมชน โรงแรมใหญ่ๆ มีห้องบอลรูม เพื่อให้มีการจัดแสดงดนตรีประกอบ กลุ่มคนฟังจึงเริ่มรับแนวเพลงลูกกรุง เกิดการเปรียบเทียบระหว่างแนวเพลงลูกทุ่ง กับเพลงลูกกรุงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นักร้องลูกกรุงที่ถือว่าเป็นรุ่นแรกที่กำหนดแนวเพลงลูกกรุงไว้ชัดเจนมีดังต่อไปนี้
เอื้อ สุนทรสนาน สุเทพ วงศ์กำแหง ชรินทร์ นันทนาคร
ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ สมยศ ทัศนพันธุ์ นริศ อารีย์
นพดฬ ชาวไร่เงิน วินัย จุลละบุษปะ ชาญ เย็นแข
กำธร สุวรรณปิยะศิริ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี มัณฑนา โมรากุล
อ้อย อัจฉรา จินตนา สุขสถิตย์ บุษยา รังสี
รวงทอง ทองลั่นธม สวลี ผกาพันธุ์ สมศรี ม่วงศรเขียว

ประวัติเพลงสตริง


สตริงหรือสตริงคอมโบ้ ( String Combo ) เป็นวงดนตรีประเภทเครื่องสายอย่างตะวันตกมีขนาดเล็กเกิดใหม่จากการดัดแปลงวงคอมโบ้รวมมิตรกับวงชาโดว์
วงคอมโบ้ (Combo Band) หมายถึงวงดนตรีขนาดเล็กมุ่งประกอบการขับร้อง มีจำนวนเครื่องดนตรีไม่แน่นอนแล้วแต่ความสะดวกแต่หลักๆมักประกอบด้วย ทรัมเป็ต เทเนอร์แซกโซโฟน อัลโตแซกโซโฟน ทอมโบน เปียโน กีตาร์คอร์ด กีตาร์เบส กลองชุด เครื่องดนตรีประกอบจังหวะอื่นๆได้แก่ กลองทอมบ้า ฉิง ฉาบ เป็นต้น ปัจจุบันนำหางเครื่องหรือปัจจุบันเรียกแดนเซอร์ มาเต้นประกอบเพื่อให้เกิดความสวยงามยิ่งขี้น มีการส่งเสริมจัดการประกวดวงคอมโบ้หลายเวที เช่น รายการชิงช้าสวรรค์ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท เวทียามาฮ่าลูกทุ่งคอนเทสก์ เวทีลูกทุ่ง ปปส.เป็นตัน
วงชาโดว์ (Shawdo Band) เป็นวงดนตรีขนาดเล็กๆเคลื่อยย้ายสะดวก ประกอบด้วยเครื่องดนตรี กีตาร์ลีด กีตาร์คอร์ด กี่ตาร์เบส กลองชุด แบ่งวิวัฒนาการออกเป็น 2 สมัย 1.ได้แก่ วงชาโดว์แนวบูล คันทรี โฟลก์ 2.วงชาโดว์แนวร๊อคเป็นต้นฉบับให้กับร๊อครุ่นหลังถึงปัจจุบัน บรรพบุรุษร๊อคนี้เรียกว่า คลาสสิคร๊อค มาถึงกำเนิดสตริงสัญชาติไทย (พ.ศ. 2503-2515)
วงการดนตรีไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเนื่องจากอิทธิพลของดนตรีตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาโดนใจวัยโจ๋ในสมัยนั้นไม่ขาดสายได้แก่วง เดอะบิทเทิล เดอะชาโดของคลิฟ ริชารด์ เอลวิส เพรสลีย ฯลฯ แทบทุกวงดนตรีมากับกีตาร์ 3 ตัว กลองชุด พร้อมๆกันนั้นวงดนตรีของไทยก็เริ่มหันมาเล่นเพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน
เมื่ออเมริกามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยสมัยสงครามเวียตนาม เพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน วงดนตรีของไทยที่เล่นเพลงสากลในสมัยนั้นเช่น วงซิลเวอแชน วงรอแยลสไปรท์ ฯลฯ ร้องและเล่นตามต้นแบบเป็นส่วนใหญ่
พ.ศ. 2512 ได้จัดการประกวดวงสตริงคอมโบ้แห่งประเทศไทยขึ้นมีกติกาการแข่งขันว่า เล่นเพลงสากล 1 เพลง เพลงไทยสากล 1 เพลง เพลงพระราชนิพนธ์ 1 เพลง วงที่ชนะเลิศคือ วงจอยท์ รีแอ๊กชั่น ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วงดิอิมพอสสิเบิลแปลว่าวงเป็นไปไม่ได้ ดิอิมพอสสิเบิลโด่งดังเหลือหลาย นักดนตรีประกอบด้วย เศรษฐา ศิระฉายา วินัย พันธุรักษ์ อนุสรณ์ พัฒนกุล สิทธิพร อมรพันธ์ และพิชัย คงเนียม ครองรางวัลชนะเลิศ 3 ปีซ้อน
ประวัติศาสตร์วงการดนตรีไทยต้องบันทึกไว้ในฐานะวงดนตรีประเภทสตริงคอมโบ้วงแรกที่สร้างความรู้สึกเป็นสากลและเป็นวงแรกอีกเช่นกันเปิดทางให้วัยรุ่นฟังเพลงไทยแนวใหม่ ความสำเร็จขั้นสูงสุดทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ตลอดจนผู้ประพันธ์เพลงให้ความสนใจกับวงดนตรีประเภทนี้มากขึ้น เวลาเดียวกันวงดนตรีวงอื่นๆ ได้รับความนิยมตามมาเช่น วงพี่เอ็มไฟร์ (P.M.5) วงแฟนตาซี วงแกรนด์เอ็กซ์ วงชาตรี ฯลฯ
จากนั้นเข้าสู่ยุดแฟนฉัน (วงชาตรี) ครีกครืนรื่นเริงเรื่อยมาถึงทุกวันนี้

ประวัติเพลงลูกทุ่ง




ประวัติเพลงลูกทุ่ง

ถ้าจะพิจารณาถึงกำเนิดของเพลงลูกทุ่งแล้ว อาจกล่าวได้ว่าเพลงลูกทุ่งถือกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานเท่ากับเพลง ไทยสากล เนื่องจากแรกเริ่มเดิมทีนั้น ยังไม่มีการแยกประเภทเพลงไทยสากลออกเป็นลูกทุ่งหรือลูกกรุง ถือว่าเป็นเพลง กลุ่มเดียวกัน นักแต่งเพลงและผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีหลายท่านในช่วงต้นล้วนแล้วแต่ไม่ประสงค์ให้แบ่งแยกเพลงไทยสากล ออกเป็นเพลงลูกทุ่งและ เพลงลูกกรุง อย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าในยุคแรกมีนักร้องเพลงไทยสากลที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งนิยมร้องเพลงที่มีสาระบรรยาย ชีวิตชาวชนบท หนุ่มสาวบ้านนาและความยากจน ชาวบ้านเรียกเพลงกลุ่มนี้ว่า "เพลงตลาด" หรือ "เพลงชีวิต" เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงเวลานี้ มีนักร้อง แนวเพลงตลาดอยู่หลายคนที่แต่งเพลงเองด้วย อาทิ ไพบูลย์ บุตรขัน,ชลอ ไตรตรองสอน,พยงค์ มุกดา,มงคล อมาตยกุล,เบ็ญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ) ,สุรพล สมบัติเจรฺญ เป็นต้น ส่วนวงดนตรีที่เด่น ๆ ของเพลงแนวนี้ ได้แก่ วงดนตรี "จุฬารัตน"' ของ มงคล อมาตยกุล วงดนตรี "พยงค์ มุกดา" และวงดนตรี "สุรพล สมบัติเจริญ" นับได้ว่าวงดนตรีทั้งสามนี้ เป็นแหล่งก่อกำเนิดแยกตัวเป็นวงดนตรีเพลงลูกทุ่ง จำนวนมากในกาลต่อมานักร้องที่ร้องเพลงแนวดังกล่าวในระยะต้นยังไม่เรียกกันว่า 'นักร้องลูกทุ่ง' นักร้องชายที่รู้จักชื่อกันดี เช่น คำรณ สัมบุณณานนท์, ชาญ เย็นแข, นิยม มารยาท, ก้าน แก้วสุพรรณ, ชัยชนะ บุณยโชติ, ทูล ทองใจ ฯลฯ ส่วนนักร้องหญิง ที่มีชื่อเสียงเด่น ได้แก่ ผ่องศรี วรนุช, ศรีสอางค์ ตรีเนตรเพลงลูกทุ่งแยกออกเป็นเอกเทศชัดเจนจากเพลงลูกกรุงนับตั้งแต่ ประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ โดยตั้งชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง" เมื่อปลายปี พ.ศ.2507 และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 มีการ จัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ 2 ปรากฎว่า สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะ นักร้องลูกทุ่ง ชายยอดเยี่ยม จากเพลงชื่อ "ยอดทิพย์รวงทอง" (ในการจัดงานครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2507 ยังไม่มีเพลงลูกทุ่งส่งเข้าประกวด)ผู้ที่ทำให้เพลงลูกทุ่งพุ่งผงาดอยู่ในความนิยมของวงการเพลงด้วยลีลาและรูปแบบเฉพาะตนคือ สุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งแต่งเพลง ร้องเองเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มชีวิตจากการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ สุรพลชอบใช้เพลงจังหวะ รำวงในเพลงที่เขา แต่ง ผลงานเพลงของเขามีลีลาสนุกสนานครึกครื้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น เพลง "เสียวไส้" "ของปลอม" ฯลฯ ยุคของสุรพล สมบัติเจริญ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งพัฒนามาถึงจุดสุดยอดเป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง อยู่ระหว่างปี พ.ศ.2506 - 2513 เป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งออกมาเป็นจำนวนมากมาย นักแต่งเพลงรุ่นนี้สืบทอดการแต่งเพลง มาจากครู เพลงในยุคต้น ตัวอย่างเช่น พีระ ตรีบุปผา เป็นศิษย์ของสมยศ ทัศนพันธ์ ส่วนศิษย์ของวงดนตรีจุฬารัตน์ ได้แก่ พร ภิรมย์, สุชาติ เทียนทอง และ ชาย เมืองสิงห์ นักแต่งเพลงที่สำคัญท่านอื่นๆ มีอาทิ เพลิน พรหมแดน, จิ๋ว พิจิตร, สำเนียงม่วงทอง, ฉลอง การะเกด, ชาญขัย บัวศร,สมเสียร พานทอง ฯลฯ ในช่วงยุคทองของเพลงลูกทุ่งนี้ มีนักร้องเกิดขึ้นใหม่หลายคนนักร้องเด่นของยุคนี้ได้แก่ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, เพลิน พรหมแดน, พร ภิรมย์, ชาย เมืองสิงห์, ศรคีรี ศรีประจวบ ฯลฯ คำจำกัดความของเพลงลูกทุ่งคืออะไรในหนังสือกึ่งศตวรรษ เพลงลูกทุ่งไทย ก็ให้คำจำกัดความไว้ว่า "เพลงลูกทุ่ง หมายถึงเพลง ที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง"

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

ประวัติ เรื่องราว hip-hop

MC
Rap หรือ Rap Music เป็นเพลงประเภท rhythm-and-blues music ซึ่งเป็นการร้องเพลงประสานทำนอง โดยลักษณะการร้องจะเป็นแบบตรงไปตรงมา โผงผาง โดยจะร้องร่วมกับ electronic drum beats ผสมกับ samples การร้อง rap ที่ได้มีการบันทึกเอาไว้ครั้งแรก คือในปี 1979 และเริ่มมีการแพร่ขยายออกมาในประมาณกลางปี 1980 ที่ New York ประเทศสหรัฐอเมริกา ในตอนแรกนั้น มีความหมายรวมเข้าไปใน Hiphop คือเรียกรวมเข้าไป จนกระทั่ง เริ่มมีการใช้คำว่า Rap จากความโด่งดังของอัลบั้ม “Rapper’s Delight” (1979) โดย the Sugarhill Gang ตั้งแต่นั้นมา Rap จึงได้เข้าไปเป็นส่วนย่อยของ Hiphop เหมือนเช่นดัง break dancing และ graffiti อีกด้วย โดยศิลปะที่เป็นความแปลกก็คือ การร้องที่จะใช้คำแสลง ที่แปลกๆ และภาษาที่สื่อตรงๆ ในการร้อง
-------------------

DJ คืออะไร? DJ ย่อมาจาก Diskjoging คือกลุ่มคนหรือบุคคลที่ทำหน้าที่เปิดเพลงตามงานหรือโอกาสต่าง ๆ DJ มีหลายประเภทแต่ที่จะนำมาเสนอนี้คือ DJ ที่เปิดเพลงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง Turntable (ปัจจุบันได้มีการพัฒนามาเป็นแผ่น CD เช่นเครื่อง CDJ เป็นต้น) เอกลักษณ์ของ DJ ประเภทนี้คือการ "Scratch แผ่นเสียง" หมายถึงการเล่นเพลงไปข้างหน้าและย้อนกลับอย่างรวดเร็วตามจังหวะของเพลง ทำให้เกิดเสียงแปลก ๆ ออกมา
DJ เกี่ยวข้องอะไรกับ HipHop ?
DJ เป็นกลุ่มคนที่สำคัญมากในวงการ HipHop เพราะได้กล่าวมาแล้วว่าเด็ก HipHip ต้องมีองค์ประกอบเกี่ยวกับเพลงเสมอฉะนั้นจึงจะขาด DJ ไปไม่ได้เพราะเป็นคนเปิดเพลงในกลุ่มต่าง ๆ เช่น เปิดเพลงให้ MC ร้องrap เปิดเพลงให้ B-Boy เต้น เป็นต้น
ดูอย่างไรว่าใครเป็น DJ?
ถ้าดูการแต่งตัวหรือการใช้ชีวิตแล้วคงจะดูไม่ออกเพราะDJจะไม่เน้นเรื่องเหล่านี้ ดูง่าย ๆ เวลามีงานเลี้ยง ในร้านเหล้า หรือร้านอาหารต่าง ๆ DJ จะเป็นคนยืนอยู่หน้าเครื่องเปิดแผ่นเสียงแล้วทำหน้าที่คอยเปลี่ยนเพลง
ถ้าอยากเป็นDJควรทำอย่างไร ?
มีวิธีเดียวคือต้องไปเรียนที่โรงเรียนสอน DJ แล้วไปหางานเปิดแผ่น ส่วนกลุ่มDJ นั้นจะเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อหางานมากกว่ารวมตัวกันเพื่อทำเล่น ๆ เพราะถือว่า DJ เป็นอาชีพอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ได้อีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียว
----------------------------

ประวัติบีบอย
คำว่า B-Boying นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาของชนชาติแอฟริกัน คือ คำว่า “Boioing” หมายความว่า “ กระโดด, โลดเต้น” และถูกใช้ในแถบ 'Bronx River' ในการเรียก รูปแบบการเต้นเบรกกิ้งของกลุ่มชาวบีบอย ตัว B ในคำว่า Bgirl : Bboy นั้นย่อมาจาก Break-Girl : Break-Boy ( บางทีก็หมายถึง Boogie หรือ Bronx) B-Boying นั้นยังเป็นที่รู้จักในชื่อ “ เบรกกิ้ง” หรือ เบรคแด๊นซ์" ( อันหลังได้รับการบัญญัติโดยสื่อมวลชน)Breaking นั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Rocking มาก่อน เป็นการสะท้อนของ อิทธิพลจากชนชาวแอฟริกัน อเมริกัน หรือวัฒนธรรมชาวลาติน(เปอโตริกัน) ซึ่งมาพร้อมกับการอพยพ และ ปักฐานที่กรุงนิวยอร์กในช่วงปลายยุค60 นั่นเอง "เบรกกิ้ง" เป็นการเต้นที่ได้รับอิทธิพลจากการเต้นหลากหลายรูปแบบ ทั้งท่วงท่าจากกีฬายิมนาสติก รวมถึงจากศิลปะการเคลื่อนไหวของโลกตะวัน ออกอีกด้วย เป็นที่คาดคิดกันว่า เบรคกิ้ง หรือเบรคแด๊นซ์นั้นมีรากฐานมาจากคาโปเอร่า หรือ 'Capoeira' คำว่า เบรค (Break) นั้นเป็นช่วงของจังหวะดนตรีที่ดุดันและเร้าใจ ในช่วง จังหวะนี้เหล่านักเต้นจะแสดงอารมณ์ด้วยท่าเต้นที่จะดึงดูดสายตาที่สุดเลยทีเดียว เรียกว่ามีอะไรก็เอามาโชว์ให้หมด Kool DJ Herc เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในการ ขยายช่วงจังหวะนี้ให้สนุกมากขึ้นด้วยเทิร์นเทเบิ้ลถึงสองตัว โดยเล่นแผ่นเสียง พร้อมกันทั้ง2 เครื่องและใช้แผ่นเสียงเพลงเดียวกัน ใช้เทคนิคถูแผ่นต่างๆกันไป ซึ่งนักเต้นสามารถจะถ่ายทอดท่าเต้นได้นานกว่าเดิม ที่มักจะเป็นเวลาเพียงไม่กี่ วินาที ในระยะแรกๆนั้นการเต้นจะเป็นท่า " upright" ที่ภายหลังเป็นที่รู้จักกันใน ชื่อ"top rocking" เป็นท่ายืนเต้น ซึ่งมีอิทธิพลมาจากBrooklyn uprocking, การ เต้นแท็ป , lindy hop , ซัลซ่า, ท่าเต้นของ Afro Cuban, ชนพื้นเมืองแอฟริกัน และชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน และก็ยังมีท่าท๊อปร็อคแบบ Charleston ที่เรียก ว่า"Charlie Rock" อิทธิพลอีกอย่างนั้นมาจาก James Brown กับผลงานเพลง ยอดฮิต"Popcorn" (1969) และ "Get on the Good Foot" (1972) จากท่าเต้น ที่เต็มไปด้วยพลังและรูปแบบที่โลดโผนสนุกสนาน ผู้คนจึงเริ่มที่จะเต้นในแบบ"GoodFoot". ในขณะ ที่การต่อสู้กันด้วยลีลาท่าเต้นเริ่มจะกลายมาเป็นประเพณี การเต้น Rocking หรือ Breaking นั้นก็เริ่มจะแทรกซึมเข้ามาสู่วัฒนธรรมฮิปฮอป ( ปะทะกันด้วยความสร้างสรรค์ไม่ใช่ด้วยอาวุธ) และมันเริ่มพัฒนาท่า เต้นที่เริ่มหลากหลายขึ้น ทั้งการย่ำเท้า การสับขา การลากเท้า และท่วงท่าที่จะใช้ปะทะกัน คือมีดีอะไรก็นำมาโชว์และเป็นที่มาของท่า "footwork" ("floor rocking" และ "freezes". Floor rocking, มีอิธิพลมาจากภาพยนตร์แนวต่อสู้ ในช่วงปลายยุค 70, การเต้นแท็ป ( ฟุตเวิร์กแบบชาวรัสเซีย, การตบ, การกวาดตัวเคลื่อนย้าย อย่างรวดเร็ว, ท่าล้อเกวียน)และท่าอื่นๆ ซึ่ง Floor rocking ได้เข้ามาเป็นท่าเต้นหลักเพิ่มขึ้น จาก 'toprocking' ในช่วงการเต้นขึ้นลงสู่พื้น เรียกว่า การ"godown" หรือ การ"drop" ยิ่งทำได้ลื่นไหลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี.Freezes นั้นมักใช้ในเป็นท่าจบ ซึ่งมักจะใช้เป็นท่าล้อเลียนหรือท้า ทายฝ่ายตรงข้ามหรือคู่ต่อสู้ ท่าที่ยอดฮิตก็คือ "chairfreeze" และ "baby freeze". ท่า chair freeze นั้นกลายเป็นท่าพื้นฐานของหลายๆท่าเพราะว่าระ ดับความยากง่ายของท่าที่ต้องใช้ความสามารถพอตัว คือ การใช้มือ แขนข้อศอกในการพยุงตัวในขณะที่เคลื่อนไหวขาและสะโพก เป้าหมายหลักในการปะทะ หรือ “Breaking Battle” นั้นก็คือ เอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยท่าที่ยากกว่า สร้างสรรค์กว่า และรวดเร็วกว่าในทั้งจังหวะ และการFreezes ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ "Breaking crews" หรือกลุ่มของนักเต้นนั้น เข้ามารวมตัวกันและช่วยกันฝึกฝนและคิดค้นท่าใหม่ๆ เพื่อเอาชนะกลุ่มอื่นๆ กลุ่มบีบอยที่เป็นที่รู้จักในช่วงแรกๆ คือ กลุ่ม Nigga Twins และกลุ่มอื่นๆอย่างเช่น “TheZulu Kings, The Seven Deadly Sinners, Shang-hai Brothers, The Bronx Boys, Rockwell Association, Starchild La -Rock,Rock Steady Crew and the Crazy Commanders ("CC step" เรียกได้ว่าพวกเขาเป็นผู้บุกเบิกวงการนักเต้นบีบอยยุคแรกๆช่วงที่การเต้นแบบนี้เริ่มพัฒนาจนมีเอกลักษณ์ น่าสนใจและสร้างนักเต้นที่เป็นที่รู้จักนั่น ก็คือช่วงกลางยุคปี70 ก็ได้แก่นักเต้นอย่าง Beaver,Robbie Rob (Zulu Kings), Vinnie, Off (Salsoul), Bos (Starchild La Rock), Willie Wil, Lil' Carlos (Rockwell Association), Spy, Shorty (Crazy Commanders), Jame Bond, Larry Lar, Charlie Rock (KC Crew), Spidey, Walter (Master Plan) ฯลฯ กลุ่มบีบอยใหญ่ๆที่ทำใหศิลปะการปะทะกันด้วยเบรคแด๊นซ์นี้ไม่หาย ไป ก็คือการปะทะกันระหว่างกลุ่ม SalSoul ( เปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น The DiscoKids) กับกลุ่ม Zulu Kings และระหว่างกลุ่ม Starchild La Rock กับ Rockwell-Association. ในขณะนั้น ' เบรคกิ้ง' หรือ ' เบรคแด๊นซ์ ' ยังมีแค่ท่าFreezes, Footworks and Toprocks และ ยังไม่มีท่า Spins! ในช่วงปลายยุค70 กลุ่มบีบอยรุ่นเก่าๆเริ่มที่จะถอนตัวกันไปและบีบอยรุ่น ใหม่ๆก็เริ่มเข้ามาแทนที่ และ คิดค้นสร้างสรรค์ท่าและรูปแบบการเต้นใหม่ๆขึ้น เช่น การหมุนทุกๆส่วนของร่างกาย เพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ท่า Headspin, Continues Backspin หรือ Windmill และอื่นๆอีกมาก ที่ได้รับการ คิดค้นและพัฒนามาเรื่อยๆในช่วงยุค 80 มีกลุ่มบีบอยหลายๆกลุ่มที่โด่งดังในกรุงนิวยอร์ก ได้แก่ 'Rock Steady Crew' , 'NYC Breakers' , 'Dynamic Rockers' , 'United States Breakers' , 'Crazy Breakers' , 'Floor Lords' , 'Floor Masters' , 'Incredible Breakers' , 'Magnificent Force' ฯลฯ บีบอยที่เก่งช่วงนั้นก็เช่น Chino, Brian, German, Dr. Love (Master Mind), Flip (Scrambling Feet),Tiny (Incredible Body Mechanic) ฯลฯ.การปะทะกันที่ยิ่งใหญ่มากในตอนนั้น เป็นการปะทะกันระหว่าง Rock Steady Crew กับ NYC Breakers และระหว่าง Rock Steady Crew กับ Dynamic Rockers และในช่วงปลาย

----------------------
Hiphop History

อย่างที่สัญญากันครับว่าจะไปนำประวัติของแนวเพลงฮิพฮอพมาลงให้อ่านกันซึ่งผมคิดว่ามีหลายอย่างที่น่าสนใจและน่าศึกษาเพราะเพลงแนวนี้เด่นตรงที่สร้างวัฒณธรรมของตัวเองขึ้นมาและแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ อะไรคือสิ่งที่ทำให้เพลงแนวนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง ? ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ? ปัญหาความรุนแรงเกิดจากอะไร ? เราไปติดตามพร้อมๆกันครับ ในช่วงปลายปี 1960 ซึ่งเป็นช่วงจุดอิ่มตัวของเพลงยุค ’60 คนเริ่มที่จะหาแนวเพลงใหม่ๆที่ฉีกออกไปและก็เป็นจังหวะเดียวกับที่ Kool Herc หนุ่มชาวจาไมกาที่ย้ายมานิวยอร์คพร้อมกับนำดนตรีสไตล์จาไมกาเข้ามา จุดเด่นของเค้าก็คือการเปิดเพลงพร้อมกับท่อนร้องสดๆควบคู่กันซึ่งก็ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จนมาวันนึง Kool Herc พบว่าเพลงบางเพลงสามารถทำให้คนเต้นรำกันได้อย่างสนุกสนานแต่มีช่วงเวลาที่น้อยไป เขาจึงนำเครื่อง Turntable มา 2 ตัวแล้วเปิดเพลงเดียวกันแต่สลับกลับไปกลับมาทำให้เกิดการ Mixing ขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งต่อมา Kool Herc ได้รับการยอมรับว่าเป็น DJ คนแรกของโลก นอกจากนั้น Kool Herc ยังเป็นคนริเริ่มคำร้องต่างๆอย่างเช่น “ Throw your hand in the air / and wave ‘em just like ya don’t care” ซึ่งเมื่อก่อนเรียกกันว่า “Mcing” ก่อนจะกลายมาเป็น “Rap” ในปัจจุบัน. หลังจากนั้น Kool Herc ก็มอบหน้าที่แร็ปให้กับเพื่อน 2 คนคือ Coke la rock และ Clark Kent ( คนละคนกับตา Superman นั่นนะครับ) และตั้งทีมขึ้นมาชื่อว่า “Kool Herc and the Herculoid” ถือเป็นกลุ่ม MC ทีมแรกของโลก จากนั้นในปี 1975 Grand Wizard Theodore ก็ค้นพบเทคนิกการ Scratching อย่างบังเอิญขณะกำลังเล่นอยู่ในห้องนอนของตัวโดยเกิดจากการดึงแผ่นกลับไปกลับมาทำให้เกิดเสียงแปลกๆขึ้น. จากนั้นเค้าเริ่มทดลองดูกับแผ่นอื่นๆจนได้เสียงที่คนฟังเข้าใจและนำมาแสดง. และก็ได้รับรางวัลจาก International Turntable Foundation ในฐานะผู้คิดค้นการ Scratchช่วงนั้นเริ่มมีการออกอัลบั้มฮิพฮอพขึ้น และ 1 ในนั้นคือ “Rapperdelight” ของ the Sugar Hill สามารถขายได้ถึง 2 ล้านก้อปปี้ทั่วโลก และยังถูกวางเป็นรากฐานของเพลงฮิพฮอพมาจนถึงทุกวันนี้ ปี 1983 ซิงเกิ้ล “White line(don’t do it)” ของ Grand Master Flash ร่วมกับ Melle Mel ซึ่งเป็นเพลงแอนตี้การใช้โคเคน ก็ดังกระหึ่มไปทั่วโลกและผลักดันให้แนวเพลงฮิพฮอพหลุดจากตลาดอันเดอร์กราวน์ขึ้นมาเทียบแนวอื่นอย่างสง่าผ่าเผย ต่อมา กลุ่มคนจากเยอรมันในนาม “The Kraftwork” ได้นำแนว Africa Bombata เข้ามาเผยแพร่ด้วยซิงเกิ้ล “Trans-Europe Express” ซึ่งเป็นเพลงแร็ปที่มีเสียง Electronic แทรกอยู่ เพลงอย่าง “Planet rock” ที่ร่วมงานกับ Soul Sonic ก็ขายในอเมริกาได้ถึง 620,000 ก้อปปี้ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าของเพลงแนวฮิพฮอพอย่างแท้จริง , วัฒนธรรมฮิพฮอพทั้ง ทีม MC, นักพ่น Graffiti, B-Boy เริ่มถือกำเนิดขึ้น ในปี 1984 วง Run D.M.C. ก็จุดประการวัฒนธรรมการแต่งตัวของชาวฮิพฮอพโดยมาพร้อมกับชุดกีฬาและสร้อยทองเส้นโตซึ่งต่อมาเรียกกันว่าการแต่งตัวแบบ “Streetstlye”. เพลงอย่าง “My Adidas” ที่ร้องถึงรองเท้าคู่โปรดทำให้ Run D.M.C. เป็นนักร้องฮิพฮอพกลุ่มแรกที่มีสปอนเซอร์เพราะ Adidas ยอมจ่ายเงินเป็นจำนวนเลข 6 หลักซึ่งถือว่ามากในสมัยนั้นเพื่อให้ใส่ชุดของพวกเค้าตั้งแต่หัวจดเท้าเลย ปีต่อมา กลุ่ม Rapper อื้อฉาว จากไมอามี่นาม 2 Live Crew ก็ทำเอาแตกตื่นด้วยเนื้อหาที่เน้นขายเรื่องใต้สะดือเป็นหลักเกือบทั้งอัลบั้มจนมีข่าวถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลและจั่วหัวหน้า 1 ไปทั่วประเทศกับอัลบั้ม “As nasty as they wanna be” หลังจากมีการฟ้องร้องกันไปพวกเขาก็ยังไม่เข็ดแต่กลับจัดทัวร์คอนเสิร์ตเรต R และออกอัลบั้ม “Banned in the U.S.A.” อีกแต่แล้วก็ค่อยๆเงียบหายไปโดยทิ้งเพลงอย่าง “Me so horny” ไว้ให้นึกถึง 1986 เพลง “Fight for your right to party” ของ the Beastie boys กลายเป็นเพลงโปรดของบรรดาเหล่าวัยโจ๋หัวดื้อทั้งหลายทั่วโลก และด้วยเหตุที่สัญลักษณ์ของพวกเค้ามีลักษณะคล้ายโลโก้ที่ติดอยู่หน้ารถ Volkswagon จึงถูกวัยรุ่นขโมยแกะออกมาจากรถระบาดไปทั้งอเมริกาและยุโรป ถัดมาอีกปี the Beastie boys ค้นพบหนุ่มผู้มีพรสวรรค์นาม LL Cool J นำมาขัดเกลาออกซิงเกิล “I need love” ในสไตล์เสียงร้องนุ่มๆเซ็กซี่ๆ จนเป็นที่มาของเพลงแนว Rap&Ballad หรือ R&B ในยุคแรกๆและเพลงนี้ก็ขึ้นถึง European top10 ส่วนตัวของ LL Cool J เองก็ขึ้นทำเนียบเป็น Superstarรุ่นใหญ่ที่อยู่ในวงการมายาวนานที่สุดและยังคงทำเพลงในสไตล์ตัวเองอยู่มาจนถึงปัจจุบัน